วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 16 วันที่ 1 กันยายน 2552 "คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์"

หาคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พร้อมคำแปล
1. mainframe คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
2.flash memory หน่วยความจำแฟลช
3.data ข้อมูล
4.network เครือข่าย
5.set up ติดตั้ง
6.remove ถอนออก
7.serial number รหัสตัวเลข
8.operating system ระบบปฏิบัติการ
9.hacker ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์
10.protocol การสื่อสารข้อมูล

สัปดาห์ที่ 15 วันที่ 25 สิงหาคม 2552 "ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์"

หาความหมายส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ
ออกมาอ่านหน้าชั้นเรียน
1.Hardware
2.Software
3.Peopleware
4.Procudure
5.Data

สัปดาห์ที่ 14 วันที่ 18 สิงหาคม 2552 "ลง Windows"

1.ลง Windows ใหม่
2.ลงโปรแกรม Microsoft Office
3.ลงโปรแกรม NOd 32 Antivirus
จำนวน 2 เครื่อง

สัปดาห์ที่ 13 วันที่ 11 สิงหาคม 2552 "นำเสนองาน"

"นำเสนอ งานบริษัท"
เรื่อง เมนบอร์ด เคส พาวเวอร์ซัพพลาย UPS

สัปดาห์ที่ 12 วันที่ 4 สิงหาคม 2552 "แก้ไขงาน"

"แก้ไขงาน"
เรื่อง เมนบอร์ด เคส พาวเวอร์ซัพพลาย UPS

สัปดาที่ 11 วันที่ 28 กรกฎคม 2552 "เมนบอร์ด เคส เพาเวอร์ซัพพลาย UPS"

เมนบอร์ด เคส พาเวอซัพพลาย UPS

เมนบอร์ด

-เมนบอร์ดแบบ Micro ATX

-ฟอร์มแฟคเตอร์ (Form Factor)

-เมนบอร์ดแบบ ATX

-เมนบอร์ดแบบ Flex ATX , ITX

ส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญบนเมนบอร์ด

-ช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ( CPU Socket )

-ช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำ ( MemorySlot)

-ชิปเซ็ต ( Chipset )

-ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ (Bus & Slot)

-PCI (Peripheral Component Interconnect)

-AGP (Accelerated Graphic Port)

-PCI-Express

-แบตเตอรี่ไบออส (BIOS Battery)


พอร์ตควบคุมอุปกรณ์

-พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ IDE (IDE Controller Port)

-พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Serial ATA (SATA)

-พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Floppy Disk Drive (FDD/FDC Controller Port)

-พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน (Serial & Parallel Port)

-พอร์ตคีย์บอร์ด และเมาส์ (PS/2 Port)

-พอร์ตยูเอสบี (USB Ports)

-พอร์ตไฟร์ไวร์ (Firewire หรือ IEEE 1394)


Power Supply

ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ (Power Connection)

-ATX Power Connector 24 Pin

-ATX12V 4 Pin

-ATX12V 6 หรือ 8 Pin

-AUXPWR 6 Pin

-Molex 4 Pin

-Berg 4 Pin

-SATA Power Connector 15 Pin


ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง ( Front PanelConnector )

-ปุ่มสวิทช์ RESET (RESET SW)
-ปุ่มสวิทช์ POWER (POWER SW)
-หลอดไฟ POWER (POWER LED)
-หลอดไฟ HARDDISK (H.D.D. LED)
-ลำโพง (SPEAKER)

ตัวเครื่องหรือเคส (Case)

-แบบฟูลทาวเวอร์ ( Full Tower )

-แบบมีเดียมทาวเวอร์ ( Medium Tower )

-แบบมินิทาวเวอร์ ( Mini Tower )

-แบบเดสก์ท๊อป ( Desktop )

-แบบมินิพีซี ( Mini-PC )


UPS

ระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรอง หรือ Backup Time

UPS มีระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรองที่สภาวะ Load เติมพิกัดอยู่ในช่วงระหว่าง5-30 นาที

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 'Mainborad และ harddisk"

ทิศทางของเมนบอร์ด
ทิศทางของเมนบอร์ดวิธีสังเกตุMainboardว่าทางไหนทิศเหนือทางไหนทิศใต้แต่ละทิศทำหน้าที่อะไรโดยทั่วไปแล้ว Northbridge คือชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อระหว่าง CPU, RAM, AGP หรือ PCI Express และ Southbridge(ยกเว้น CPU รุ่นใหม่ ๆ บางตัวที่รวมการทำงานบางส่วนเข้าไปใน CPU แล้ว)Northbridges บางตัวก็ฝัง Video controllers เข้าไปด้วยเลยซึ่งคือ "การ์ดจอออนบอร์ด" ที่มักจะเรียกกันบ่อยส่วน Southbridge คือชิพจัดการ input/output (I/O) เช่น USB, Serial, audio, Integrated Drive Electronics (IDE), PCI, ISA

ทิศเหนือ ( Northern Bridge )
จากแผนภาพข้างบนจะเห็นว่า อุปกรณ์ที่เข้ามาต่อกับ VT82C589AT โดยตรงได้แก่ Host Master หรือซีพียู (ในคอมพิวเตอร์ ถือว่าตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมการประมวลผลคือซีพียู) และ VGA Card หรือ AGP Card หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำแคช (Static RAM) และ Slot สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่าน PCI Bus ทั้งหมดนั้นต้องถูกควบคุมผ่านสะพานทิศเหนือ สังเกตได้ว่า Northern Bridge นั้นเป็น Chipset หลัก ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์ การเรียกชื่อ Chipset นี้จะเรียกเป็นชื่อที่ผู้ผลิตตั้งขึ้นมาเอง อย่างเช่น VIA เรียก Chipset ข้างบนว่า MVP3 แต่ถ้าเป็นกรณีของ Intel จะเรียกเฉพาะชื่อย่อ ถ้าหากสังเกตที่ตัว Chipset จะมีโค๊ดหรือรหัสยาวหลายตัว เช่น FW82443LX แต่ Intel เรียกว่า 440LX เท่านั้น

ทิศใต้ ( Southern Bridge )
ควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) Harddisk, CD-ROM Drive , USB และ ACPI Controller (ดูแผนภาพประกอบ) รวมทั้งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ ISA Bus ด้วย หน้าที่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งของ Southern Bridge คือเป็นตัวควบคุม Power Management ControllersABIT IP35 PRO OFF LIMITS เป็นเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของซีพียูซ็อกเก็ต LGA775 สามารถรองรับการทำงานของซีพียูที่ใช้ FSB ตั้งแต่ 800MHz 1066MHz ไปจนถึง 1333MHz ซึ่งหมายความว่าซีพียูที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็จะต้องเป็นรุ่นที่ใหม่อยู่สักหน่อยเพราะต้องใช้ FSB ที่มีความเร็ว 800MHz ขึ้นไปทางด้านหน่วยความจำเมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงใช้หน่วยความจำแบบ DDR2 โดยรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 8GB พร้อมทั้งรองรับการทำงานในแบบ Dual Channel สำหรับความเร็วของหน่วยความจำที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เริ่มต้นที่ DDR2-667 และ DDR2-800ชิปเซต P35 ที่ใช้นั้นจะรองรับการทำงานของกราฟิกการ์ดแบบ CrossFire ด้วย และบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็มีสล๊อต PCI-Express x16 มาให้ถึงสองช่อง เพื่อให้เราสามารถใส่กราฟิกการ์ดของ ATi ที่รองรับเทคโนโลยี CrossFire ได้ และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าระยะห่างของสล๊อต PCI-Express x16 ทั้งสองช่องก็มีการเว้นระยะไว้พอสมควร ทำให้สามารถติดตั้งกราฟิกการ์ดที่มีฮีตซิงค์ใหญ่ๆ ได้อย่างสบายชุดระบายความร้อนของเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ถือว่ามีมาอย่างครบสูตรไม่ว่าจะเป็นส่วนของชิปเซตทั้งนอร์ธบริดจ์เซาธ์บริดจ์และส่วนของภาคจ่ายไฟของซีพียู โดยเฉพาะฮีตซิงค์็ตรงชิปนอร์ธบริดจ์นั้นมีขนาดใหญ่โตพอสมควรทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อนเมื่อทำการโอเวอร์คล๊อก FSB ไปที่ความเร็วสูงๆ เพราะเมื่อเราทำการปรับ FSB ไปสูงๆ นั้นเราก็อาจจะต้องทำการเพิ่มแรงดันให้กับชิปนอร์ธบริดจ์ด้วยเหมือนกันนอกเหนือไปจากคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการโอเวอร์คล็อกแล้ว เมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น มีพอร์ต LAN จำนวนสองช่อง มี eSATA จำนวนสองช่อง มีสวิตช์สำหรับเคลียร์ไบออสอยู่ทางด้านหลัง ซึ่งทำให้เราไม่ต้องเปิดฝาเคสเวลาที่ต้องการเคลียร์ค่าในไบออสเป็นต้นMainboard1. ชุดชิพเซ็ต ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน 2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ เมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง3. หน่วยความจำแคชระดับสอง หน่วยความจำแคชระดับสอง เป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
เมนบอร์ดแบบรวม หมายถึง เมนบอร์ดที่มีการรวม Integrate หรือรวม Controller ต่างๆไว้ในตัวเมนบอร์ดชุดเดียวกันหรือที่เรียกว่า o­n Board เช่น การ์ดเสียง หรือ Display Adapter ที่อยู่บนตัวบอร์ดเองมักจะเรียกกันว่า เมนบอร์ดแบบ All in o­ne เมนบอร์ดแบบแยก หมายถึง เมนบอร์ดที่มีเพียง Chipset อยู่บนเมนบอร์ดเท่านั้น จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเสียบอุปกรณ์อื่นคือ Integrate หรือ Controller ที่อยู่ในรูปของการ์ด เข้าไปในช่อง Slot บนเมนบอร์ดเช่น การ์ดจอที่ต้องใส่ลงไปใน AGP Slot หรือการใส่การ์ดเสียงลงใน Slot Sound Card





ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ)
คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด(motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟชแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง- ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ desktop pc หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TB- ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GBการเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น
การคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ตัวอย่างที่ 1ถ้าฮาร์ดดิสก์มี 4 แพล็ตเตอร์ (แต่ละแพล็ตเตอร์บันทึกได้ 2 ด้าน) มี 1,024 ไซลินเดอร์ (หรือแทร็ก) และมี 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก (แต่ละเซกเตอร์มีขนาด 1,024 ไบต์) จะคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ดังนี้จำนวนเซกเตอร์ต่อพื้นผิว = 1,024 แทร็ก x 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก = 64,512 ไบต์จำนวนเซกเตอร์ทั้งหมด = 64,152 เซกเตอร์ต่อพื้นผิว x 8 พื้นผิว = 516,096 เซกเตอร์ความจุฮาร์ดดิสก์ (ไบต์) = 516,096 เซกเตอร์ x 1,024 ไบต์ต่อเซกเตอร์ = 528,482,304 ไบต์ความจุฮาร์ดดิสก์ (MB) = 528,482,304 / 1,048,576 = 504 เมกะไบต์ตัวอย่างที่ 2ความจุของฮาร์ดดิสก์สามารถคำนวณได้ โดยดูจากจำนวนแพลตเตอร์ จำนวน Track ซึ่งโดยปกติจะใช้จำนวน Cylinder แทนฮาร์ดดิสก์โดยปกติจะแบ่งให้ Cylinder ซึ่งมี 17 Sector แต่ละ Sector มีขนาด 512 byte ถ้ามี 2 แพลตเตอร์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านแบ่งเป็น 305 cylinder ดังนั้นความจุฮาร์ดดิสก์ = จำนวน Cylinder x จำนวน Sector x จำนวนด้าน x จำนวน byte ใน 1 sector= 305 cylinder x 17 sector x 4 side x 512 byte= 10,370 k= 10 M

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 9 หยุดวันเข้าพรรษา

หยุดเรียนวันเข้าพรรษา วันที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ.2552

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 ปัญหา+การแก้ไข Hardware

Headphone
1. headphone เสียงไม่ออก
= เช็คปลั๊กไฟก่อนว่าไฟเข้าหรือเปล่า?
= สายไหอาจขาดได้
2. headphone มีเสียงออกข้างเดียว
= ลองขยับสายให้แน่น
3. แจ๊ก headphone เสีย
= เปลี่ยนแจ๊กใหม่
= เชื่อมสายทองแดงใหม่
4. สวิตซ์ volume ของ headphone เร่งเสียงแล้วเสียงไม่ดังขึ้น
= เปลี่ยนสวิตซ์ใหม่
= เพิ่มเสียงในคอมพิวเตอร์โดยตรง
5. microphone ไม่ดัง
= ขยับแจ๊ค microphone ให้แน่น

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 7 สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม



ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

เย็นวันศุกร์เวียนมาถึงเมื่อไหร่ เป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่า "ตลาดน้ำอัมพวา" หรือ "ตลาดน้ำยามเย็น" กำลังจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลาสี่โมงเย็นไปจนถึงพลบค่ำ และเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปจนถึงวันเสาร์และอาทิตย์

"ตลาดน้ำอัมพวา" เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเทศบาลตำบลอัมพวา และประชาชนในท้องถิ่นจัดขึ้น เพื่อฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ที่นับวันจะหาชมได้ยากแล้ว ตลาดน้ำโดยทั่วไปนั้นจะมีเฉพาะตอนกลางวัน แต่สำหรับที่นี่นั้นจะจัดขึ้นในช่วงเวลาเย็นไปจนค่ำ ซึ่งนับเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดขึ้นในลักษณะนี้

แดดร่มลมตก เรือลำน้อยใหญ่ต่างทยอยพายมาถึงบริเวณตลาด นักท่องเที่ยวจะพบกับของกินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวหมู ผัดไทย กุ้งเผา ขนมไทยๆ อย่างลูกชุบ ขนมกล้วย ขนมใส่ไส้ก็มี ซึ่งได้จัดสถานที่ไว้สำหรับให้นั่งกินได้อย่างสะกวดสบาย

นอกจากอาหารบริเวณริมคลองอัมพวาแล้ว ก็ยังสามารถเดินชมบรรยากาศของเรือนแถวไม้ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ที่น่าสนใจคือบริเวณบ้าน "พิพิธภัณฑ์วันก่อน" ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวอัมพวา และจัดแสดงไว้อย่างน่าสนใจ

และเมื่อมาเยือน "ตลาดน้ำอัมพวา" ทั้งทีแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการ "ล่องเรือชมหิ่งห้อย" โดยเรือจะล่องไปตามคลองอัมพวา แล้วล่องไปจนออกแม่น้ำแม่กลอง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อลงเรือได้บริเวณตลาดน้ำอัมพวา โดยมีท่าเรือให้บริการอยู่หลายแห่ง

เรือเที่ยวแรกจะออกจากตลาดน้ำเวลาประมาณหกโมงครึ่ง เพราะเป็นช่วงเวลาพลบค่ำพอดี ระหว่างทางคุณจะได้พบกับบ้านเรือนของชาวอัมพวาที่ตั้งเรียงรายอยู่สองฝั่งคลอง เมื่อเรือล่องออกไปได้สักพัก ก็จะเห็นแสงระยิบระยับของตัวหิ่งห้อยที่เกาะอยู่ตามป่าโกงกาง แสงของมันมีสีเขียวเหลือง ตัวที่บินว่อนตามพุ่มไม้เป็นหิ่งห้อยตัวผู้ ส่วนตัวเมียชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ใบไม้

เวลาที่มันออกหากินคือยามโพล้เพล้แล้วพระอาทิตย์ตกดินเล็กน้อย หรือในคืนข้างแรม จะเห็นว่ามันกะพริบแสงเหมือนไฟต้นคริสต์มาส เพราะฉะนั้นเวลาที่ดีที่สุดในการดูหิ่งห้อยคือ ยามโพล้เพล้หลังพระอาทิตย์ตกเล็กน้อย และถ้าเป็นคืนข้างแรม แสงหิ่งห้อยจะสุกใสที่สุด


ข้อมูลทั่วไป
- เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.00-21.00 น.
- ค่าเรือชมหิ่งห้อยคนละ 60 บาท เหมาลำ 600 บาท

การเดินทาง
- รถยนต์ส่วนตัว จากตัว จ. สมุทรสงครามใช้ทางหลวงหมายเลข 325 ไปทางเดียวกับ อ. ดำเนินสะดวก และอุทยาน ร. 2 ประมาณ 6 กม. ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกซ้ายเข้า อ. อัมพวา เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 800 เมตร ทางแยกซ้ายมือเข้าตลาดน้ำอัมพวา
- รถประจำทาง ขึ้นรถกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ลงที่ตลาดน้ำอัมพวา และรถสายกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม ลงที่สถานีขนส่งอัมพวา แล้วต่อรถสายแม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ลงที่ตลาดน้ำอัมพวา

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6 ซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน

1. รายชื่ออุปกรณ์ใน CASE

2. การแก้ปัญหาในการซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5 asciicode และ Ram

Phiranya Poolsumran
0000101000010110100101100100111010000110011101101001111010000110 00001010111101101111011000110110110011101010111010110110010011101000011001110110

ภิรันยา พูลสำราญ
00000011001010111100001110001011100111010100001101001011 0111110110011011101000110101001111001011110000110100101110110101

แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น

SDRAM
อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน DDR - RAM หน่วยความจำแบบ

DDR-SDRAM
นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน

Rambus Rambus
นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM

วิธีการเลือกซื้อหน่วยความจำ
ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงซ็อกเก็ตใส่หน่วยความจำของบอร์ดว่า มีอยู่เท่าใด โดยปกติบอร์ดในปัจจุบันจะมีซ็อกเก็ตใส่แรม 4 ซ็อกเก็ต โดยเวลาใส่จะต้องใส่ เป็นคู่จึงจะสามารถใช้งานได้ ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำจึงต้องซื้อหน่วย ความจำที่มีขนาดความจุเท่ากัน 2 แผง แต่ก็อาจมีบอร์ดบางรุ่นที่มีซ็อกเก็ตแรม 6 หรือ 8 ซ็อกเก็ตซึ่งมีประโยชน์ในกรณีต้องการเพิ่มแรมในอนาคต จะสามารถทำได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า ตัวอย่างเช่น หากแรมในเครื่องผู้ใช้เป็นแบบแผงละ 8 MB 2 แผงแล้วต้องการจะเพิ่มขึ้นไปอีก ผู้ใช้ที่มีซ็อกเก็ตแรมเพียง 4 ซ็อกเก็ตจะมีโอกาสเพิ่มได้เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้เพราะช่องแรม ที่เหลืออยู่มีเพียงคู่เดียว ปัญหาก็คือหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำให้สูง ๆ เช่น ต้องการแรมมากกว่า 32 MB ก็ต้องซื้อแรมแบบ 16 MB 2 แผงซึ่งเป็นการจ่ายเงินจำนวนมาก ในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ใช้มีซ็อกเก็ตแรม 6 ซ็อกเก็ตก็ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มได้อีกในภายหลังทำให้ ไม่จำเป็นต้องซื้อแรมแบบ 16 MB ในครั้งแรกนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ เพิ่มแรมมากนัก อย่างไรก็ตามก็มีบอร์ดบางรุ่นที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มแรมทีละ 1 แผงได้ซึ่งก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ เพราะทำให้ผู้ใช้มีโอกาสเพิ่มแรมได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนแรมแบบ SDRAM นั้นปัจจุบันบอร์ด ทั่ว ๆ ไปจะมีซ็อกเก็ต SDRAM เพียง 1 ซ็อกเก็ต ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มแรมก็จะมีโอกาส เพียงครั้งเดียวเช่นกัน จะมีเพียงบอร์ดบางรุ่นเท่านั้นที่มีซ็อกเก็ตแร มแบบ SDRAM มากกว่า 1 ช่อง ซึ่งที่พบในปัจจุบันนั้นก็จะเป็นแบบ 2 ซ็อกเก็ตสำหรับบอร์ดเพนเทียม และสูงสุดที่พบคือ 4 ซ็อกเก็ตสำหรับเพนเทียมโปร (มีเฉพาะซ็อกเก็ตแรมแบบ SDRAM เท่านั้น) อย่างไรก็ตามบอร์ดที่มีซ็อกเก็ตแรมแบบ SDRAM นี้จะมีซ็อกเก็ตแบบ 72 พินรวมอยู่ด้วยซึ่ง สามารถใช้หน่วยความจำทั้ง 2 ชนิดรวมกันได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบอร์ดด้วยว่าผู้ใช้จะสามารถ ใส่แรมทั้ง 2 แบบรวมกันได้ในลักษณะใดบ้าง เช่น เมื่อผู้ใช้ใส่แร มแบบ SDRAM แล้วจะใช้ ซ็อกเก็ตแรมแบบ 72 พินได้เพียง 1 คู่เท่านั้น หรืออาจใช้ได้ครบทุกซ็อกเก็ต ทั้งนี้ก็อยู่ท ี่เมนบอร์ดแต่ล ะรุ่น ผู้ใช้จึงควรตรวจดูในคู่มือให้แน่ชัดก่อนว่าบอร์ดรุ่นนั้น ๆ สนับสนุนการ ใส่แรมในลักษณะใด ส่วนขนาดของแรมที่เหมาะสมในปัจจุบันนั้น ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 32 MB จึงจะ ใช้งานได้อย่างสะดวก แต่แนะนำว่าควรเป็น 64 MB หรือสูงกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการ ใช้งานที่สูงขึ้น

ความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ


ความเร็วของ RAM คิดกันอย่างไร ที่ตัว Memorychip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Accesstime คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data busได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก

ความเร็วของ RAM เรียกว่า Cycle time ซึ่งมีหน่วยเป็น ns โดย Cycle time เท่ากับ Read/Write cycle time (เวลาที่ในการส่งสัญญาณติดต่อ ว่าจะอ่าน/เขียน RAM) รวมกับ Access time และ Refresh time โดยทั่วไป RAM จะต้องทำการตอบสนอง CPU ได้ในเวลา 2 clock cycle หรือ 2 คาบ หาก RAM ตอบสนองไม่ทัน RAM จะส่งสัญญาณ /WAIT บอก CPU ให้ คอย คือ การที่ CPU เพิ่ม clock cycle ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า WAIT STATE

หน่วยความจำหรือRAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อคุณคิดจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นนับวันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมา จากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยผู้ที่ไม่คุ้นเคย ก็สามารถทำได้ หรือจะเป็นความต้องการทำงานในแบบมัลติมีเดียซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ความต้องการหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางผู้ผลิตจึงได้เร่งผลิตหน่วยความจำเข้าสู่ท้องตลาดจนปัจจุบันราคาแรมลดลงอย่าง ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จากเมื่อต้นปีที่แล้วที่ราคาแรมแบบ 72 พินขนาด 8 MB มีราคาประมาณ 5,000 บาท ทุกวันนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อแรมชนิดเดียวกันได้ในราคาเพียงประมาณ 800 บาทเท่านั้น ดังนั้นการเพิ่มหน่วยความจำจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปสำหรับผู้ใช้โดยทั่วไป คำถามต่อมาที่ผู้ใช้ สงสัยคือ หน่วยความจำแบบใดจึงจะดีที่สุด หน่วยความจำที่เป็นที่รู้จักและมีจำหน่ายมากที่สุดคือหน่วยความจำแบบ 72 พิน ส่วนหน่วย ความจำแบบ 30 พินซึ่งมีใช้สำหรับเครื่องรุ่น 80386 นั้นตอนนี้ได้หายไปจากท้องตลาดแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ตั้งแต่เครื่องแบบ 486 เป็นต้นมาต่างก็ใช้หน่วย ความจำแบบ 72 พินทั้งนั้น สำหรับหน่วยความจำแบบ 72 พินนั้นก็จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผู้ใช้ รู้จักกันดีคือแบบ Fast Page Mode และ EDO ซึ่งแบบแรกนั้นก็เริ่มจะไม่เป็นที่นิยมแล้ว ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาแรมแบบ EDO ที่ทำให้มีความเร็วสูงกว่า ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการ จะซื้อหน่วยความจำก็ควรจะเลือกแบบ EDO หรือที่เร็วกว่าจึงจะเหมาะ ที่สำคัญราคาของ หน่วยความจำแบบ Fast Page Mode นั้นสูงกว่าแบบ EDO แล้วอันเนื่องมาจากปริมาณที่ มีอยู่เพียงเล็กน้อยในตลาด แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์บา งรุ่นซึ่งไม่สามารถใส่แรม แบบ EDO ได้นั้นก็ยังคงต้องใช้แรมแบบ Fast Page Mode ต่อไป ซึ่งเครื่องที่ไม่สนับสนุน แรมแบบ EDO นั้นก็จะเป็นเครื่องรุ่น 486 ส่วนแรมอีกประเภทหนึ่งซึ่งเพิ่งจะมีใช้ไม่นานนัก คือแรมแบบ SDRAM ซึ่งปัจจุบันเป็นแรมที่มีความเร็วสูงที่สุด โดยแรมประเภทนี้จะเป็นแรม แบบ 168 พินซึ่งมีอยู่ในบอร์ดบางรุ่นเท่านั้น สำหรับราคาของแรมประเภทนี้นั้นยังมีราคาสูง อยู่ทั้งนี้ก็เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่คาดว่าในอนาคต ก็จ ะสามารถเข้ามาครองตลาดได้เหมือนที่ EDO ทำได้มาก่อนหน้านี้แล้ว

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552